ตลาดการเงินทั่วโลกอยู่ท่ามกลางสัญญาณทางเศรษฐกิจที่หลากหลายและซับซ้อน ในขณะที่ตลาดสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวัน Martin Luther King, Jr. ฟากตลาดหุ้นยุโรปมีการอ่อนตัวลงมาเล็กน้อย สะท้อนถึงความไม่สบายใจของนักลงทุนเนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ฝั่งจีน เกิดความเคลื่อนไหวที่น่าประหลาดใจขึ้นเมื่อธนาคารกลางจีนเลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งผิดจากที่เก็งกันไว้ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้น ทำให้มีการคาดการณ์กันไปต่างๆ นาๆ ถึงตัวเลข GDP ที่กำลังจะมีการประกาศเร็วๆ นี้ ส่วนเยอรมนีสามารถเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้อย่างสวยงาม แม้จะมีการหดตัวที่ 0.3% ในปี 2566 ซึ่งพิสูจน์ถึงความสามารถในการฟื้นตัวท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ท้าทาย และสุดท้าย การประชุมที่ดาวอสกำลังจะเริ่มต้นขึ้น โดยในปีนี้ ทุกคนต่างพุ่งความสนใจไปที่การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งสภาวะทางการเงินที่หลากหลายเช่นนี้ได้ตอกย้ำถึงความซับซ้อนและความท้าทายของเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยในสัปดาห์ที่กำลังมาถึง จะมีการเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับชีพจรเศรษฐกิจโลกจากประเทศจีน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ท่ามกลางความท้าทายที่กำลังดำเนินอยู่

อัปเดตข่าวสำคัญ

  • ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงท่ามกลางผลตอบแทนพันธบัตรที่เพิ่มขึ้น: ดัชนี STOXX 600 ของยุโรปปิดที่ -0.5% เนื่องจากอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการลดลงในครั้งนี้ทำให้ดัชนีปรับลดลงไป 1% เมื่อเปรียบเทียบแบบ year-to-date ตรงกันข้ามกับการปรับเพิ่มขึ้น 13% ในปี 2023 ส่วนตลาดหุ้นสำคัญอื่นๆ เช่น FTSE 100 ของสหราชอาณาจักรและ DAX ของเยอรมนีก็ปรับตัวลดลง -0.4% และ -0.5% ตามลำดับ
  • ธนาคารกลางจีนหักปากกานักวิเคราะห์ คงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม: ธนาคารกลางจีนยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายระยะกลางไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่ตรงข้ามกับที่หลายฝ่ายคาดจนทำให้นักลงทุนเกิดความแตกตื่น ดัชนี CSI 300 ของจีนดิ่งลงทันทีสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2019 แม้ว่าในภายหลังจะสามารถฟื้นตัวกลับมาปิดที่ -0.1% ได้ก็ตาม
  • หุ้นญี่ปุ่นพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 34 ปี: ดัชนี Nikkei 225 ของญี่ปุ่นพุ่งขึ้นเหนือระดับ 36,000 จุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 34 ปี สวนทางกับตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก โดยการปรับขึ้นครั้งนี้มีสาเหตุมาจากเงินเยนที่อ่อนค่าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลง
  • สกุลเงินต่างๆ ยังคงเคลื่อนไหวไร้ทิศทาง: ค่าเงินยูโรและดอลลาร์สหรัฐมีความเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย โดยค่าเงินยูโรซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 1.095 ดอลลาร์ต่อยูโร ส่วนดัชนีดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.14% มาอยู่ที่ 102.65 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสกุลเงินหลักเหล่านี้มีบทบาทสำคัญต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและการเปลี่ยนแปลงของการค้าระหว่างประเทศ
  • การประเมินมูลค่าของภาคธนาคารครั้งล่าสุดเผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ: จากรายงานล่าสุด มูลค่าของภาคธนาคารทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นทะลุ 7 ล้านล้านดอลลาร์ในระยะเวลาห้าปีข้างหน้า โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือการส่งเสริมการเติบโตและการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

FX วันนี้

  • ดัชนีดอลลาร์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย: ดัชนีดอลลาร์สหรัฐปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยที่ 0.14% ขึ้นมาอยู่ที่บริเวณ 102.65 ซึ่งการปรับตัวสูงขึ้นนี้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของความเชื่อมั่นของนักลงทุน รวมถึงสะท้อนความแข็งแกร่งของเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ ทั่วโลก
  • คู่เงิน AUD/USD เคลื่อนไหวตอบรับการตัดสินใจของ PBoC และความเชื่อมั่นของตลาด: ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียเผชิญกับแนวโน้มขาลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยคู่เงิน AUD/USD มีการซื้อขายที่ 0.6655 ลดลงจากระดับสูงสุดที่ 0.6705 ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างข้อมูลทางเศรษฐกิจภายในประเทศและการเคลื่อนไหวของตลาดโลก
  • GBP/USD ปรับตัวเตรียมรับข่าวสำคัญ: คู่เงิน GBP/USD ปรับตัวลงเล็กน้อยมาซื้อขายกันอยู่ที่ 1.2717 ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจที่น่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบเป็นรายปีจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อแนวโน้มของคู่เงิน โดยแนวรับสำคัญที่นักลงทุนควรจับตาคือที่บริเวณ 1.2650 – 1.2685 เพราะถ้าหากราคาสามารถฝ่าแนวรับนี้ลงไปได้ก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลดลงต่อไป
  • คู่เงิน USD/JPY ได้รับอานิสงส์จากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน: คู่เงิน USD/JPY ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมาซื้อขายกันใกล้ระดับ 146.00 โดยได้รับแรงหนุนจากการอ่อนตัวของเงินค่าเงินเยนและตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในทางเทคนิค อาจเกิดแนวต้านขึ้นที่บริเวณ 147.00 – 147.50 ซึ่งนักลงทุนต่างจับตาไปที่ผลกระทบจากนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษของญี่ปุ่นว่าจะส่งผลกับค่าเงินเยนอย่างไรบ้าง
  • ค่าเงินดอลลาร์แคนาดาเคลื่อนไหวไร้ทิศทาง: คู่เงิน USD/CAD มีการซื้อขายกันอยู่ที่บริเวณ 1.3440 ซึ่งบ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ราคาอาจขึ้นมาทดสอบแนวต้านทางจิตวิทยาที่เส้น SMA 200 วัน บริเวณ 1.3500 โดยปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินได้แก่ การประกาศดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของแคนาดาที่มีกำหนดแถลงในเร็วๆ นี้
  • คู่เงิน EUR/GBP เผชิญกับแรงกดดันของตลาด: คู่เงิน EUR/GBP ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาซื้อขายกันอยู่ที่ระดับ 0.8600 ซึ่งเป็นระดับแนวรับพอดี โดยที่หากราคามีการทะลุแนวรับ 0.8600 ลงมาได้ก็อาจเป็นสัญญาณของการปรับตัวลงต่อในอนาคต และมีแนวต้านแรกอยู่ที่ระดับ 0.8615 ต่อด้วยที่จุด high ของเดือนมกราคม ที่ 0.8650
  • ราคาน้ำมันปรับลดลงท่ามกลางความกังวลด้านอุปสงค์: ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลง 0.8% มาอยู่ที่ 77.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งการปรับลดลงครั้งนี้เนื่องจากความไม่แน่นอนของอุปสงค์ทั่วโลกและการหยุดชะงักของเส้นทางเดินเรือในทะเลแดง

ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น

ราคาหุ้น Atos SE ปรับตัวลดลงอย่างหนักถึง 15.1% ซึ่งถือเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดของหุ้นที่อยู่ในดัชนี Stoxx Europe 600
ราคาหุ้นของ Sinch AB และ Samhaellsbyggnadsbolaget i Norden AB Series B ปรับตัวลดลง 10.4% และ 9.3% ตามลำดับ
MorphoSys AG ปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น โดยราคาหุ้นพุ่งขึ้นถึง 9.7% ติดอันดับหุ้นที่ปรับตัวขึ้นสูงสุดในดัชนี Stoxx Europe 600
Viaplay Group และ Flutter Entertainment PLC ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.5% และ 3.0% ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งที่แตกต่างกันของหุ้นในแต่ละกลุ่ม

บทสรุป:

ในขณะที่ตลาดโลกมีการเคลื่อนไหวที่ไร้ทิศทาง รวมถึงการปรับกลยุทธ์ของนักลงทุน เราได้เห็นเส้นทางที่แตกต่างกันของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ตั้งแต่ฝั่งยุโรปที่มีการซื้อขายกันด้วยความระมัดระวัง ไปจนถึงการคงอัตราดอกเบี้ยของจีนและความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของภาคการเงินในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้การที่ตลาดสหรัฐฯ ปิดทำการชั่วคราวยังเป็นการย้ำเตือนถึงความเชื่อมโยงและการพึ่งพาซึ่งกันและกันของตลาดทั่วโลก และในขณะที่ผู้นำทางการเงินของโลกมาประชุมกันที่ดาวอส ข้อถกเถียงและการอภิปรายของบรรดาผู้นำทางการเงินเหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน รวมถึงอาจเป็นการกำหนดแนว
นโยบายเศรษฐกิจและกลยุทธ์การลงทุนในอนาคต และด้วยข้อมูลสำคัญทางเศรษฐกิจที่มีกำหนดแถลงในเร็วๆ นี้ ทำให้ชุมชนนักลงทุนต่างๆ เตรียมตัวสำหรับการอัปเดตข่าวสารและข้อมูลทางเศรษฐกิจเพื่อนำมาปรับมุมมองและกลยุทธ์การลงทุนของตนเอง ซึ่งความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางของตลาดในอนาคต