ตลาดการเงินได้แสดงถึงการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนผ่านช่วงเวลาทั้งขาขึ้นและขาลง ผสมผสานไปด้วยสถิติสูงสุดใหม่และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ โดยทั้งดัชนี S&P 500 และ Dow Jones Industrial Average สามารถทำสถิติสูงสุดใหม่ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการที่จะรับความเสี่ยงเพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าของนักลงทุน เนื่องจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทต่างๆ ในตลาดหุ้นและข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ออกมาในเชิงบวก อย่างไรก็ตาม ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจก็ยังคงมีความท้าทายที่รออยู่ จากการที่ดัชนี Nasdaq Composite ปรับตัวลดลงเล็กน้อย และข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ออกมาคละกันทั้งดีและไม่ดีสะท้อนถึงความสมดุลที่ละเอียดอ่อนของตลาดในขณะนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์และนักลงทุนต่างพิจารณาถึงความยั่งยืนของโมเมนตัมที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพุ่งขึ้นของตลาดหุ้น ทำให้ความเคลื่อนไหวของตลาดในสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเหมือนกับการเตือนความจำเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เปราะบางระหว่างความคาดหวังของนักลงทุนกับความเป็นจริงของปัญหาเศรษฐกิจที่ยังคงดำเนินอยู่

สรุปประเด็นที่ควรจับตา:
ตลาดหุ้นทำสถิติทะยานสู่จุดสูงสุดใหม่ท่ามกลางภาวะตลาดที่ผสมผสาน: ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยที่ 0.03% ปิดตลาดประจำสัปดาห์ด้วยการขึ้นไปทำจุดสูงสุดครั้งใหม่ในประวัติศาสตร์ ที่ 5,088.80 ซึ่งเป็นการพุ่งทะลุระดับ 5,100 เป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับดัชนี Dow Jones Industrial Average ที่สร้างสถิติใหม่ด้วยการเพิ่มขึ้น 62.42 จุด หรือ 0.16% ปิดตลาดที่ 39,131.53 แต่ในทางกลับกัน ดัชนี Nasdaq Composite ปรับตัวลงเล็กน้อย 0.28% ปิดที่ 15,996.82 ถึงแม้ว่าดัชนีจะสามารถทำจุดสูงสุดในรอบ 52 สัปดาห์ไปได้ก่อนหน้านี้ในช่วงเปิดตลาด
ตลาดหุ้นยุโรปทำสถิติสูงสุดใหม่: ตลาดหุ้นยุโรปปิดตลาดประจำสัปดาห์ได้ค่อนข้างสดใส โดยดัชนี Stoxx 600 ปรับเพิ่มขึ้น 0.4% ในวันศุกร์ ปิดตลาดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยได้แรงหนุนจากกำไรที่แข็งแกร่งและข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ออกมาผสมผสาน ส่วนดัชนี CAC 40 ของฝรั่งเศสและ DAX ของเยอรมนีต่างก็ปรับตัวสูงขึ้น 0.7% และ 0.3% ตามลำดับ ส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรปเป็นไปอย่างคึกคัก
เศรษฐกิจเยอรมันหดตัวส่งผลกระทบต่อยูโรโซน: GDP ของเยอรมนีในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 หดตัวลง 0.3% ยืนยันความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำที่เลวร้ายลงในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรป ภาวะเศรษฐกิจหดตัวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการหดตัว 0.1% ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งสะท้อนถึงช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับเศรษฐกิจเยอรมนี
ตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง: ดัชนี CSI 300 ของจีน ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบไปด้วยหุ้นชั้นนำของจีน ปิดสูงขึ้น 0.09% ทำสถิติปิดตลาดเป็นบวก 9 วันติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ดัชนี Hang Seng ของฮ่องกงปรับตัวลดลงเล็กน้อยที่ 0.13% ท่ามกลางการซื้อขายที่ผันผวน ส่วนดัชนี Kospi ของเกาหลีใต้ และดัชนี S&P/ASX 200 ของออสเตรเลีย ปิดตลาดสูงขึ้น 0.13% และ 0.43% ตามลำดับ แสดงถึงแนวโน้มเชิงบวกในภูมิภาค
FX วันนี้

EUR/USD ทรงตัวในกรอบแคบ: คู่เงิน EUR/USD มีความเคลื่อนไหวเล็กน้อยในกรอบแคบๆ ระหว่าง 1.0840 ถึง 1.0810 สะท้อนถึงความระมัดระวังของตลาดก่อนการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่กำลังจะมาถึง แม้ว่าค่าเงินยูโรจะเคยพุ่งขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 1.0888 ได้เป็นเวลาสั้นๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ แต่ก็ปรับลดลงมาปิดตลาดที่ระดับสูงกว่า 1.0800 เล็กน้อย โดยยังคงถูกกดดันจากเส้น SMA 200 วัน ที่ระดับ 1.0827 ซึ่งการเคลื่อนไหวของ EUR/USD สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองที่ค่อนข้างระมัดระวังของนักลงทุน โดยเป็นการลดลงสุทธิประมาณ 2.8% จากจุดสูงสุดเมื่อปลายเดือนธันวาคม
GBP/USD เผชิญความไม่แน่นอน: คู่เงิน GBP/USD เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบ ระหว่าง 1.2459 ถึง 1.2862 โดยความเคลื่อนไหวล่าสุดสะท้อนให้เห็นว่าที่ระดับ 1.2694 ถือเป็นแนวต้านที่สำคัญ ท่ามกลางสถานการณ์ที่เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคในไตรมาส 4 ของปี 2023 อย่างไรก็ตาม สัญญาณการชะลอตัวเพียงเล็กน้อย รวมถึงการแสดงความเห็นในแง่ดีของผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษก็เป็นการชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการฟื้นตัว ทำให้ปัจจัยที่สำคัญยังคงเป็นปัจจัยภายนอก รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ ทำให้ทิศทางของคู่เงิน GBP/USD อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลหักล้างกับภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ท้าทายแนวคิดเรื่องเสถียรภาพท่ามกลางความไม่แน่นอนที่ยังคงอยู่
ราคาทองคำพุ่งสูงจากผลตอบแทนพันธบัตรที่ลดลง: ราคาทองคำได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ที่ลดลง โดยราคาทองคำพุ่งขึ้น 0.70% แตะที่ระดับ 2,038 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทะลุเส้น SMA 50 วัน ที่ระดับ 2,033.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ราคาทองจะขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 2,050 ดอลลาร์สหรัฐฯ รวมถึงพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ระดับ 2,065.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ซึ่งการที่นักลงทุนโยกย้ายเงินทุนไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่อ่อนตัวเน้นย้ำถึงความกังวลต่อสภาวะตลาด
จับตาการทะลุกรอบของ USD/JPY: คู่เงิน USD/JPY ยังคงทรงตัวบริเวณใกล้แนวต้าน 150.85 ซึ่งหากคู่เงินสามารถทะลุผ่านแนวต้านนี้ได้ก็อาจเป็นการจุดประกายโมเมนตัมขาขึ้นสู่ระดับ 152.00 ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของปีที่แล้วต่อไป แต่ในทางกลับกัน หากไม่สามารถผ่านแนวต้านนี้ได้ก็อาจทำให้คู่เงินอ่อนค่าลงมาแตะแนวรับที่บริเวณ 149.70 และ 148.90 ได้ตามลำดับ
EUR/JPY เผชิญแนวต้าน: EUR/JPY มีความเคลื่อนไหวเล็กน้อย โดยซื้อขายกันใต้แนวต้านที่ 164.00 ซึ่งถ้าหากราคาสามารถขึ้นมาซื้อขายกันเหนือระดับนี้ได้อย่างเด็ดขาดก็มีความเป็นไปได้ที่คู่เงินอาจขึ้นทดสอบแนวต้านเทรนไลน์ที่ระดับ 165.20 ในทางกลับกัน คู่เงินมีแนวรับอยู่ที่ 161.50 และ 160.75 ซึ่งถ้าหากผ่านแนวรับลงมาได้ก็มีโอกาสที่คู่เงินจะลงมาทดสอบเส้น SMA 100 วัน บริเวณใกล้กับ 159.60
GBP/JPY พุ่งแตะจุดสูงสุดในรอบหลายปี: คู่เงิน GBP/JPY ปรับตัวสูงขึ้นผ่านแนวต้านสำคัญที่ 191.00 ส่งสัญญาณถึงภาวะตลาดกระทิง แนวต้านต่อไปคาดว่าจะอยู่ที่ 192.50 หากคู่เงินยังสามารถรักษาแนวโน้มขาขึ้นแบบนี้ได้ต่อไปก็มีแนวโน้มที่จะขึ้นทดสอบจุดสูงสุดของปี 2015 ที่ระดับ 196.00 ส่วนแนวรับเบื้องต้นอยู่ที่บริเวณ 190.00 และ 188.50 ตามลำดับ รวมถึงที่เส้น SMA 50 วัน บริเวณ 185.50
ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น

ผลประกอบการที่ยอดเยี่ยมของ Nvidia ผลักดันหุ้นเทคโนโลยี: ราคาหุ้นของ Nvidia พุ่งขึ้นเกือบ 1% มาปิดที่ 788.17 ดอลลาร์ หลังบริษัทประกาศรายได้ไตรมาสที่สี่เพิ่มขึ้นถึง 265% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 22.10 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 20.62 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้มูลค่าตลาดของ Nvidia สูงเกิน 2 ล้านล้านดอลลาร์ในระหว่างการซื้อขายภายในวัน เป็นการเน้นย้ำว่าภาคเทคโนโลยียังคงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นอย่างมากเพื่อนำมาขับเคลื่อนอุตสาหกรรม AI
ราคาหุ้น Block Inc พุ่งทะยานจากกำไรที่พุ่งสูง: ราคาหุ้นของบริษัท Block Inc (SQ) พุ่งขึ้นถึง 16.1% หลังบริษัทด้านการเงินแห่งนี้รายงานรายได้ในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความยืดหยุ่นและนวัตกรรมของภาคเทคโนโลยีทางการเงินที่กำลังเติบโต
หุ้น Carvana Co พุ่งขึ้นรับคาดการณ์อนาคตที่สดใส: ราคาหุ้นของ Carvana (CVNA) พุ่งขึ้นถึง 32.1% โดยได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์การเติบโตที่สดใสในปี 2024 ของผู้ค้าปลีกยานยนต์มือสองรายนี้ ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญครั้งนี้สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนในโมเดลธุรกิจของ Carvana และการฟื้นตัวของตลาดรถยนต์มือสอง
หุ้น Booking Holdings ร่วงแรงจากความกังวลของตลาด: หุ้นของบริษัท Booking Holdings (BKNG) ร่วงลงกว่า 10% กลายเป็นหุ้นที่ร่วงแรงที่สุดในดัชนี S&P 500 หลังบริษัทท่องเที่ยวและการจองที่พักรายนี้เผยแพร่การคาดการณ์อัตราการเติบโตของการจองที่พัก (gross bookings) ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ ภาวะการจองที่พักที่ลดลงนี้สะท้อนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวท่ามกลางสถานการณ์ที่ผันผวน
หุ้น MercadoLibre ร่วงลงหลังผลประกอบการต่ำกว่าคาด: ราคาหุ้นของ MercadoLibre (MELI) ลดลงกว่า 10% ซึ่งเป็นการร่วงลงอย่างหนักหลังบริษัทอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่รายนี้รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสออกมาต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ ผลประกอบการที่ตกต่ำนี้ตอกย้ำถึงความท้าทายที่ผู้ค้าปลีกออนไลน์ต้องเผชิญจากรูปแบบการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
Volvo ปรับกลยุทธ์ในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า: บริษัท Volvo Cars ประกาศการตัดสินใจลดการถือหุ้นในบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Polesta ลงไป 62.7% ส่งผลให้ราคาหุ้น Volvo ลดลง 3.8% ซึ่งความเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์ครั้งนี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดรถยนต์ไฟฟ้า และการปรับตัวของ Volvo ต่อสถานการณ์ต่างๆ ในตลาด
Warner Bros. Discovery (WBD) เผชิญปัญหา : ราคาหุ้นของ Warner Bros. Discovery ร่วงลงกว่า 9% หลังรายงานรายได้ประจำไตรมาส 4 ที่ 10.28 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 10.46 พันล้านดอลลาร์ ราคาหุ้นที่ร่วงลงครั้งนี้สะท้อนถึงความกังวลของตลาดเกี่ยวกับโอกาสการเติบโตและสถานะการแข่งขันของบริษัทในแวดวงสื่อและความบันเทิงที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
การปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่งของดัชนีหลักของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถือเป็นข่าวดีสำหรับนักลงทุน โดยดัชนี S&P 500 ปรับเพิ่มขึ้นถึง 1.66% ตามมาด้วย Nasdaq ที่ 1.4% และ Dow Jones ที่ 1.3% การปรับตัวขึ้นครั้งนี้เป็นการสะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการที่ยอดเยี่ยมของบริษัท Nvidia หรือการเติบโตอย่างมั่นคงของ Booking Holdings ล้วนแสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตลาดหุ้นได้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวทั้งในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และความท้าทายของสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลการปรับขึ้นของตลาดหุ้นครั้งนี้เป็นการตอกย้ำถึงความสำคัญของการปรับกลยุทธ์อย่างชาญฉลาดและการตัดสินใจอย่างรอบคอบเพื่อใช้ประโยชน์จากการเติบโตของบริษัทในตลาดหุ้น ขณะเดียวกัน นักลงทุนก็ควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจโลก