แม้ว่าโดยปกติแล้ว เดือนมีนาคมมักจะเป็นเดือนที่ยากลำบากสำหรับตลาดหุ้น แต่ดัชนี Nasdaq และ S&P 500 ก็สามารถพุ่งขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากหุ้นของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่และการตื่นตัวเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI การพุ่งขึ้นของตลาดครั้งนี้เกิดขึ้นในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ กำลังชะลอตัว ส่งผลให้ความคาดหวังที่ว่า Fed จะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยดูมีน้ำหนักมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ แสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าต่างๆ ไม่ได้ลดลงรวดเร็วอย่างที่หวัง ถึงแม้จะยังมีหลายเนื่องราวที่น่ากังวล แต่นักลงทุนก็ยังคงมองโลกในแง่ดีโดยเฉพาะกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ส่งผลให้ดัชนี Nasdaq ปิดตลาดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และดัชนี S&P 500 ก็สามารถพุ่งทะลุ 5,100 จุดเป็นครั้งแรก ซึ่งแสดงถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดแม้จะต้องเผชิญความท้าทายต่างๆ ในเดือนมีนาคมก็ตาม

สรุปประเด็นที่ควรจับตา:
Nasdaq ทำลายสถิติจุดสูงสุดใหม่ จากแรงหนุนของหุ้น AI และภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัว: ดัชนี Nasdaq Composite ปรับตัวสูงขึ้น 1.14% ปิดตลาดที่ 16,274.94 จุด แตะระดับสูงสุดระหว่างวันที่ 16,302.24 จุด ซึ่งเป็นการทำสถิติจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2021 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความสนใจของนักลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง และการเติบโตของหุ้น AI
S&P 500 พุ่งทะลุระดับ 5,100 จุด: ดัชนี S&P 500 สามารถพุ่งขึ้นเหนือระดับ 5,100 จุดได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ด้วยการปรับเพิ่มขึ้น 0.80% มาอยู่ที่ 5,137.08 จุด ซึ่งการปิดตลาดในระดับสูงสุดครั้งนี้สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของตลาดโดยรวมและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
Dow Jones ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย: ดัชนี Dow Jones ปรับเพิ่มขึ้น 0.23% หรือ 90.99 จุด ปิดที่ 39,087.38 สะท้อนถึงความมั่นใจท่ามกลางความระมัดระวังของนักลงทุน ทำให้ Dow Jones เป็นดัชนีที่ยังคงตามหลังดัชนีสำคัญอื่นๆ
หุ้นเทคโนโลยีและหุ้นสินค้าฟุ่มเฟือยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง: หุ้นเทคโนโลยีกลายเป็นผู้นำประจำสัปดาห์ของดัชนี S&P 500 ซึ่งปรับเพิ่มขึ้น 2.4% ตามมาติดๆ ด้วยหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยที่ปรับเพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนหุ้นกลุ่มสุขภาพทำผลงานได้รั้งท้าย ปรับตัวลดลง 1.1% ซึ่งถึงการเปลี่ยนกลุ่มหุ้นที่นำตลาดท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ตลาดยุโรปปิดบวกท่ามกลางข้อมูลเงินเฟ้อ: หุ้นยุโรปปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น โดยดัชนี Stoxx 600 ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% จากการที่อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงเหลือ 2.6% ซึ่งยังคงสูงกว่าการคาดการณ์เล็กน้อย ได้กระตุ้นความคาดหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรป นอกจากนี้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.6% ขณะที่หุ้นประกันภัยปรับตัวลดลง 0.7%
ตลาดหุ้นเอเชียเคลื่อนไหวผสมผสาน ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นใกล้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์: ตลาด Nikkei 225 ของญี่ปุ่น ปิดที่ 39,910.82 หรือปรับสูงขึ้น 1.9% เข้าใกล้ระดับ 40,000 ซึ่งเกือบจะเป็นสถิติสูงสุดครั้งใหม่ ส่วนตลาดจีนตอบรับข้อมูลภาคการผลิตในเชิงบวก โดยดัชนี CSI 300 ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% มาอยู่ที่ที่ 3,537.8 สะท้อนถึงมุมมองเชิงบวกในภูมิภาค
การเปลี่ยนแปลงการลงทุนท่ามกลางความกังวลเรื่องหนี้สิน: ปริมาณหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทะลุระดับ 34 ล้านล้านดอลลาร์ ส่งผลให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การคลังของประเทศ การที่หนี้สารธารณะพุ่งขึ้นสูงอาจส่งผลให้นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ที่มีเสถียรภาพ เช่น ทองคำและบิตคอยน์ เป็นการตอกย้ำความกังวลเกี่ยวกับมูลค่าของสกุลเงินแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ Moody ยังได้ปรับลดอันดับแนวโน้มของเครดิตเรตติ้งของสหรัฐฯ ลงเป็นเชิงลบ เนื่องจากหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจนอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าการบริหารการคลังในอนาคตจะต้องเผชิญกับความท้าทายครั้งใหญ่
ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นก่อนตัดสินใจของ OPEC+: ราคาน้ำมันดิบสหรัฐฯ ในตลาดซื้อขายล่วงหน้าพุ่งทะยานแตะระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน เป็นการบ่งชี้ว่าตลาดกำลังตึงตัวขึ้นหลังคาดการณ์ว่ากลุ่มโอเปกพลัส (OPEC+) จะมีการตัดสินใจลดกำลังการผลิต ส่วนสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) งวดส่งมอบเดือนเมษายน ปรับเพิ่มขึ้น 2.19% ปิดตลาดที่ระดับ 79.97 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นราคาปิดตลาดสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.09% อยู่ที่ระดับ 83.94 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล


FX วันนี้

EUR/USD ดีดขึ้นหลังข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด: คู่เงิน EUR/USD ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 1.0800 ขึ้นไปแตะที่ 1.0840 หลังตัวเลข ISM PMI ของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าคาด ส่งผลให้นักลงทุนต่างมุ่งเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ โดยตลอดทั้งสัปดาห์ EUR/USD เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ ระหว่าง 1.0860 และ 1.0800 ซึ่งในปัจจุบัน คู่เงินกำลังเคลื่อนไหวอยู่ใกล้กับเส้น SMA 200 วัน ที่ระดับ 1.0830 บ่งบอกว่าขณะนี้ คู่เงินยังไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน โดยนับตั้งแต่การลงมาทำจุดต่ำสุดครั้งล่าสุดที่ 1.0695 ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ EUR/USD มีการแข็งค่าขึ้นประมาณ 1.3%
EUR/GBP เผชิญแนวรับเหนือเส้นค่าเฉลี่ย: คู่เงิน EUR/GBP พุ่งขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ โดยซื้อขายกันที่ระดับ 0.8564 และกลับมายืนเหนือเส้น SMA 20 วัน ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ EUR/GBP มีระดับราคาที่น่าจับตาอยู่ที่ high เดิม ที่ 0.8578 และเส้น SMA 50 วัน ที่ 0.8588 โดยมีแนวต้านต่อไปอยู่ที่บริเวณที่เส้น SMA 200 วัน ที่ระดับ 0.8610 ซึ่งบ่งบอกถึงความพยายามของ EUR/GBP ในการสร้างกรอบราคาใหม่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของตลาด
GBP/USD แกว่งตัวแคบๆ ระหว่างการอภิปรายงบประมาณ: GBP/USD ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ระหว่างจุดต่ำสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ 1.25174 และจุดสูงสุด ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ 1.27133 โดยนักลงทุนจะจับตาการเคลื่อนไหวของคู่เงินอย่างใกล้ชิดเมื่อการอภิปรายงบประมาณฤดูใบไม้ผลิใกล้เข้ามา ซึ่งถ้าสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คู่เงินก็อาจจะสามารถเบรกออกจากกรอบดังกล่าวได้
USD/CAD มีความพยายามที่จะเบรกระดับ 1.3600: คู่เงิน USD/CAD กำลังเผชิญกับแนวต้านที่ระดับ 1.3600 และย่อลงเพื่อทดสอบแนวรับที่ 1.3550 ทั้งคู่ยังคงอยู่ในระยะของการ sideway พร้อมทดสอบเส้น SMA 200 วัน ที่ 1.3477 ซึ่งความพยายามที่จะเบรกผ่านระดับ 1.3600 สะท้อนถึงแรงซื้อและแรงขายที่ค่อนข้างสมดุลกัน แต่ก็อาจมีการเคลื่อนไหวเพื่อกลับไปซื้อขายกันในกรอบที่เคยทำไว้ก่อนหน้านี้ได้หากโมเมนตัมของคู่เงินเกิดการอ่อนแรงลง
USD/JPY ปรับตัวสูงขึ้นจากท่าทีของ BoJ: คู่เงิน USD/JPY กลับมาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอีกครั้ง โดยสามารถพุ่งทะลุระดับ 150.00 จากการแสดงความเห็นในเชิงผ่อนคลายจากนาย Kazuo Ueda ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งนักลงทุนต่างจับตามองว่าจะสามารถทะลุแนวต้านถัดไปที่ 150.85 ได้หรือไม่ การเคลื่อนไหวของคู่เงินครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนกำลังพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่นและผลกระทบที่มีต่อค่าเงิน
คำพุ่งสู่ระดับสูงสุดตลอดกาลท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาด: ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยขึ้นไปที่ระดับ 2,100.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ และทะลุแนวต้านสำคัญหลายจุด รวมถึงแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 2,050 ดอลลาร์ และระดับสูงสุดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ 2,065.60 ดอลลาร์ ขึ้นสู่ระดับ 2,065-2,090 ดอลลาร์ ซึ่งใกล้เคียงกับระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 2,146.79 ดอลลาร์ ตอกย้ำสถานะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของทองคำ


ความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้น

หุ้น Dell Technologies พุ่งแรงหลังผลประกอบการไตรมาส 4 แข็งแกร่ง: หุ้นของ Dell Technologies พุ่งขึ้นกว่า 30% หลังเปิดเผยรายงานกำไรต่อหุ้นที่ปรับปรุงแล้วของไตรมาส 4 อยู่ที่ 2.20 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 1.72 ดอลลาร์ ซึ่งการที่ผลประกอบการออกมาดีกว่าที่คาดอย่างมากเป็นการตอกย้ำถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งและประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท
NetApp ทะยานขึ้นหลังกำไรดีกว่าคาด: หุ้นของ NetApp เป็นหนึ่งในผู้นำของดัชนี S&P 500 โดยปิดบวกกว่า 18% หลังผลประกอบการออกมาดีกว่าที่คาดด้วยกำไรต่อหุ้นในไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 1.94 ดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ 1.68 ดอลลาร์
Cooper Companies รายงานยอดขายที่น่าประทับใจ: หุ้นของ Cooper Companies ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 9% หลังบริษัทรายงานยอดขายสุทธิในไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 931.6 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 915.9 ล้านดอลลาร์ ตัวเลขยอดขายที่แข็งแกร่งเป็นการตอกย้ำความแข็งแกร่งของบริษัทและแนวโน้มการเติบโตของ Cooper
Eli Lilly พุ่งขึ้นหลังนักวิเคราะห์ปรับเป้าหมายราคา: หุ้นของ Eli Lilly เพิ่มขึ้นกว่า 3% หลังจาก Bank of America มีการปรับราคาเป้าหมายของหุ้นมาเป็น 1,000 ดอลลาร์ จากเดิม 800 ดอลลาร์ โดยอ้างอิงคาดการณ์การเติบโตจากโครงการโรคเบาหวานและโรคอ้วน
Everbridge ราคาพุ่งจากข้อเสนอซื้อกิจการ: ราคาหุ้นของ Everbridge ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 25% หลัง Thoma Bravo ปรับราคาในข้อตกลงเสนอซื้อกิจการมาเป็น 35 ดอลลาร์ต่อหุ้น สะท้อนความสนใจอย่างสูงในตัวบริษัทรวมถึงโซลูชันทางเทคโนโลยีที่บริษัทนำเสนอ
ราคาหุ้น Caret Holdings พุ่งแรงหลังนักวิเคราะห์ปรับคำแนะนำ: หุ้นของ Caret Holdings พุ่งขึ้นกว่า 21% หลังนักวิเคราะห์มีการปรับคำแนะนำจาก “ถือ” เป็น “ซื้อ” และตั้งราคาเป้าหมายใหม่ที่ 40 ดอลลาร์
หุ้น Dominion Energy ร่วงแรงจากคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ที่อ่อนแอ: หุ้นของ Dominion Energy ร่วงกว่า 6% ทำให้เป็นหนึ่งในหุ้นที่ราคาร่วงลงมากที่สุดในดัชนี S&P 500 หลังคาดการณ์กำไรต่อหุ้น (EPS) ที่ปรับปรุงแล้วของปี 2024 ออกมาอยู่ที่ 2.62-2.87 ดอลลาร์ ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้ที่ 3.03 ดอลลาร์
หุ้น Zscaler ราคาร่วงจากการเติบโตที่ต่ำกว่าเป้า: หุ้น Zscaler เป็นหนึ่งในหุ้นที่ราคาร่วงหนักที่สุดของดัชนี Nasdaq 100 โดยปรับลดลงมากกว่า 9% หลังรายงานว่าการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าของไตรมาส 2 เติบโตขึ้นเพียง 27% เมื่อเทียบเป็นรายปี พลาดเป้าการเติบโตที่ 30% ซึ่งอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าเป้าทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการขยายตลาดของบริษัทและแนวโน้มรายได้ในอนาคต
หุ้น New York City Community Bancorp ร่วงหนักท่ามกลางปัญหาเกี่ยวกับผู้บริหารและการบริหารงาน: หุ้นของ New York City Community Bancorp ร่วงกว่า 26% หลังธนาคารประกาศเปลี่ยนแปลงตัวผู้บริหารและเปิดเผยปัญหาเกี่ยวกับการจัดการภายใน หลังราคาหุ้นตกลงมาแล้วมากกว่า 65% ในปี 2024 การลดลงครั้งล่าสุดนี้ทำให้นักลงทุนกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับเสถียรภาพของธนาคารและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นสำหรับความผันผวนของตลาดอสังหาริมทรัพย์


ขณะที่เดือนมีนาคมดำเนินไป ดัชนี Nasdaq Composite และ S&P 500 พุ่งสู่จุดสูงสุดเป็นประวัติการ สะท้อนถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นของหุ้นเทคโนโลยีและ AI ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วเดือนนี้มักจะเป็นเดือนที่ท้าทายสำหรับหุ้น ความสำเร็จนี้แสดงให้เห็นว่านักลงทุนกำลังให้ความสนใจกับเทคโนโลยีอย่างมากในขณะนี้ แม้ว่านักลงทุนจะยังคงจับตาดูสัญญาณทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น อัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวในสหรัฐอเมริกาและราคาสินค้าที่เริ่มทรงตัวในยุโรป การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ และการตัดสินใจเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC+ เป็นการเพิ่มสิ่งที่นักลงทุนต้องพิจารณามากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้ว บรรยากาศในตลาดขณะนี้เต็มไปด้วยความระมัดระวังและความคาดหวัง ผู้คนต่างเฝ้ารอว่าเทคโนโลยีใหม่ๆ จะนำพาอะไรมาให้กับโลก แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องฝ่าฟันกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน